วันอาทิตย์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

๑๒. ร้อนใน อาเจียน

๑๒.  ร้อนใน  อาเจียน

             ตำรับยา

        วิธีทำ  ใบตำลึงต้มกินหายอีขนานให้เอายอกกะทกรกและยอดตำลึงต้มกิน  หรือคั้นเอาน้ำกิน

     รายละเอียดเพิ่มเติม 

     ตำลึงหรือใบตำลึง
      ทุกคนคงรู้จักดีอยู่แล้ว  เพราะหากสังเกตดีๆ  จะเห็นลำต้นขึ้นอยู่ทุกหัวระแหง  ลำต้นของตำลึงเป็นเถาไม้เลื้อย  เนื้อแข็ง  ใบเป็นใบเลี้ยงเดี่ยว  มีลักษณะเป็น   แฉก  หรือ   แฉก   กว้างและยาวประมาณ   เซนติเมตร  โคนใบมี

ลักษณะเป็นรูปหัวใจ  มีมือเกาะยื่นออกมาจากที่ข้อ  ดอกเป็นดอกเดี่ยวหรือดอกคู่  มีลักษณะเป็นรูประฆัง  กลีบดอกสีขาวแยกเพศอยู่คนละต้น  ดอกออกตรงที่ซอกใบ  ลักษณะของผลเป็นวงรีทรงยาวสีเขียวอ่อน  เมื่อยามแก่จัดจะเป็นสีแดง 

   สรรพคุณ

      ใบ  ใช้ในการแก้ตัวร้อน  ตาแดง  ตาเจ็บ

      เถา  นำน้ำต้มจากเถาตำลึงมาหยอดตาแก้ตาแดง  ตาฟาง

     ดอกตำลึง  ช่วยทำให้หายจากอาการคันได้

     ราก  ใช้แก้อาการอาเจียน  ตาฝ้า

     น้ำยางจากต้นและใบ  ช่วยลดน้ำตาลในเลือด

        กะทกรก

        ลักษณะตามลำต้นมีหนามห่างๆ ใบรูปไข่หรอรีๆ ดอกเล็กสีขาวอยู่เป็นกระจุกที่ง่ามใบ ผลกลมหรือรีขนาดเท่าเม็ดบัวเขื่องๆกะทกรกที่รู้จักมี 2 ชนิด คือชนิดที่เป็นพรรณไม้เถา เนื้อไม้แข็งและอีกชนิดเป็นพรรณไม้เถาเล็ก เลื้อยตามพื้น ที่เรียกว่าเงาะป่า

        แต่กระทกรกที่ใช้ทำยาจะใช้เฉพาะไม้เถาเนื้อไม้แข็งเท่านั้น  กะทกรกเป็นสมุนไพรที่รู้จักกันทั่วไปมีชื่อเรียกตามท้องถิ่นกันมากมาย อย่างเช่น กะทกรก (ทั่วไป)  กะทอกม้า (ราชบุรี)  ชักกะทอก (ประจวบคีรีขันธ์) ควายเสือก (โคราช) กะเดาะ (สงขลา) ผักรูด (สุราษฎร์ธานี) กาเด๊าะ อาจิง (มลายู-นราธิวาส)

สรรพคุณ

       เปลือก  นำมาต้มรมแผลที่เน่าเปื่อย ทำให้แผลแห้ง

       เมล็ด  ทาท้องเด็ก แก้ท้องอืด ทำให้ผายลม วิธีใช้โดยการตำเมล็ดให้ละเอียดแล้วผสมกับน้ำสัปรดลนควันให้อุ่น แล้วใช้ทาท้องเด็กทารก ต้มน้ำดื่ม แก้ไข้แก้กามโรค

       ใบ  นำมาต้มให้ละเอียดคั้นเอาน้ำดื่มเป็นยาเบื่อ ขับพยาธิ หรือ ตำให้ละเอียด เอากากสุมศีรษะแก้ปวดศีรษะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น