วันอาทิตย์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

๑๐. เลือดกำเดาออกง่าย

๑๐.  เลือดกำเดาออกง่าย

    ตำรับยา

     วิธีทำ  เอาใบพุทรา   กำมือ  ยาข้าวเย็นเหนือ หนัก   บาท  ยาข้าวเย็นใต้หนัก   บาท  มาต้มดื่มต่างน้ำ

    รายละเอียดเพิ่มเติม

        พุทรา

                พุทราเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง  ใบกลมโตขนาด   นิ้วฟุต  ตามต้นและกิ่งก้านมีหนาม  ออกดอกเป็นช่อสีเหลืองเล็กๆ  มีกลิ่นเหม็นมาก  ผลโตเท่าผลมะไฟงามๆ  แต่บางชนิดผลกลม  ปลายแหลมคล้ายผลมังคุดไทย  บางชนิดก็มีรสหวานสนิท  บางชนิดก็เปรี้ยวฝาดต่างๆกัน  โดยมักเกิดเองในป่า  หรือตามที่สาธารณะทั่วไป

                ชื่อเรียกตามท้องถิ่น  พุทรา ( ไทย )  มะดันหลวง  มะท้อง  มะตอง  มะตันต้น ( ภาคเหนือ )    หมากทัน  ( ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ) 

     สรรพคุณ

    ใช้เปลือกต้น  ใบ  ผลดิบ  ผลสุก  เพราะเปลือกต้น  ใบ  รสฝาดอมเปรี้ยว  แก้อาการจุกเสียด  แก้ท้องเสีย  แก้ท้องร่วง  แก้อาเจียน  ผลดิบ  รสฝาด  แก้ไข้  ผลสุกหวานฝาดเปรี้ยว  ขับเสมหะแก้ไอ  นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์เป็นยาระบายด้วย

      ข้าวเย็นเหนือ

          คือสมุนไพรชนิดหนึ่งที่ท่านทั้งหลายเพิ่งรู้จัก  ข้าวเย็นเหนืออยู่คู่กับข้าวเย็นใต้  เป็นไม้เลื้อยลงหัว  ลำต้นมีหนาม  ใบคล้ายใบกลอย  หัวสีน้ำตาลคล้ำ  เปลือกและเนื้อในหัวมีสีแดง  รสมันกร่อยหวานเล็กน้อย  เป็นสมุนไพรอย่างหนึ่งที่เต็มไปด้วยประโยชน์

         ข้าวเย็นใต้

         คือสมุนไพรชนิดหนึ่งที่ท่านทั้งหลายเพิ่งรู้จัก  ข้าวเย็นใต้อยู่คู่กับข้าวเย็นเหนือ  เป็นไม้เถาขนาดเล็ก  มีทั้งชนิดลำต้นมีหนามและชนิดไม่มีหนาม  ใบเป็นรูปหัวใจ  บางหัวมีสีเหลืองซีดๆ เนื้อในหัวมีสีขาว  รสมันกร่อยหวานเล็กน้อย

         สมุนไพรข้าวเย็นเหนือข้าวเย็นใต้  มีขายตามร้านขายยาแผนโบราณ  ราคาประมาณ กิโลกรัมละ  ๒๐๐ ๓๐๐ บาท

       สรรพคุณ

สมุนไพรข้าวเย็น และเหนือข้าวเย็นใต้   ใช้หัวแก้เส้นพิการ  น้ำเหลืองเสีย  กามโรค  ฝีเปื่อย  พุพอง  และต้นแก้อัมพาต

    น้ำหนัก   บาท  เมื่อนำมาเทียบน้ำหนักเป็นกรัม

     บาท  =  ๑๕.๒   กรัม

     บาท  ๖๐.๘   กรัม

     เพราะฉะนั้น    บาท  เท่ากับ  ๖๐.๘  กรัม  ยังไม่ถึงขีดนะครับ

๙.  โรคกระเพาะ

   ตำรับยา

      วิธีทำ  ให้เอากล้วยน้ำว้าดิบฝานบางๆ  ตากแดดให้แห้งสนิท  แล้วป่นให้เป็นแป้ง   เวลาตักกินครั้งละ ๑  ช้อนคาว  ใส่น้ำสุกอุ่นๆแล้วดื่ม  ตำรับยานี้จะช่วยรักษาโรคกระเพาะได้ดี

  รายละเอียดเพิ่มเติม

   กล้วยน้ำว้า

          เป็นพืชล้มลุก  มีถิ่นกำเนิดแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ลำต้นตั้งตรงสูง  ส่วนที่อยู่เหนือดินรูปร่างกลม  มีกาบใบหุ้มซ้อนกัน  ใบเป็นใบเดี่ยว  สีเขียวขนาดใหญ่  ผิวใบด้านบนเรียบเป็นมัน  ท้องใบสีข่าวนวล  เส้นกลางใบใหญ่และแข็ง  ก้านยาว

    ดอก  อกเป็นช่อที่ปลายยอด  ลักษณะห้อยหัวลง  ความยาว ๑   ศอก  สีแดงค้ำเรียกว่า  ปลี  ดอกย่อยออกเป็นแผง

    ผล  กลมยาวเนื้อในสีเหลือง  รูปร่างและรสขึ้นอยู่กับพันธุ์    หวีกล้วยจะเรียงกันเป็นเครือกล้วย

          ชื่อเรียกท้องถิ่น  กล้วยกะลิอ่อน  กล้วยมะนิอ่อน  มะลิอ่อง  (เ งี้ยว ภาคเหนือ ) กล้วยนาก  ( กรุงเทพ )   กล้วยน้าว้า  กล้วยเล็บมือ  กล้วยหอมจันทร์  กล้วยหักมุก ( ภาคกลาง)   เจก  ( เขมร จันทบุรี )  ยาไข่  สกุย ( กะเหรี่ยง จันทบุรี )

  สรรพคุณ

   ใช้ยาง  ผลดิบ  ผลสุกหัวปลี  ใบ  ราก  ซึ่งเก็บได้ตลอดปี 

-รักษาอาการท้องเสียที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ  โดยใช้ผลดิบตากแห้ง บดเป็นผง  แล้วชงน้ำร้อนดื่ม  โดยใช้ผลดิบครั้งละ   ผล  ปอกเปลือกตากแห้ง  บดเป็นผง  ทานครั้งละ   ช้อนโต๊ะ  ผสมน้ำผึ้งหรือน้ำอุ่น   ช้อนโต๊ะ  หรือชงน้ำร้อนดื่มกิอนนอนหรือก่อนอาหารทุกวันจนกว่าจะหาย

  -แก้อาการท้องผูก  ใช้กล้วยน้ำว้าสุกซึ่งฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อนๆทานผลสุกครั้งละ   ผล  วันละ   ครั้ง   ก่อนอาหารครึ่งชั่วโมงและควรเคี้ยวให้ละเอียด

  -ช่วยขับน้ำนม  โดยใช้หัวปลีทำแกงเลียงทานบ่อยๆหลังคลอดใหม่ๆ จะช่วยให้น้านมดี

  -รส  ผลอ่อนนสฝาน  ผลสุกรสหวาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น